Feed Supplement and Feed Additive
สารเสริมในอาหารสัตว์ คือ สารที่ใช้ปรับปรุงอาหารพื้นฐาน ( Basal
diet) ให้มีคุณภาพดีขึ้นหรือมีคุณค่าทางโภชนะที่เหมาะสมเพียงพอต่อความต้องการของสัตว์
Feed Supplement คือ วัตถุดิบอาหารสัตว์ชนิดเดียวหรือหลายชนิดรวมกัน
มีความเข้มข้นของสารอาหารชนิดใดชนิดหนึ่งอยู่สูง ใช้เติมลงในการผสมอาหาร
เพื่อให้เกิดความสมดุลของสารอาหารในอาหาร “ เสริมให้มีคุณค่าทางอาหารเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ”Feed Additive คือ สารที่เติมลงในอาหารให้สัตว์กินเพื่อจุดประสงค์อื่นๆ ไม่ใช่เป็นการให้สารอาหารโดยตรงกับสัตว์ แต่เป็นการกระตุ้นการเจริญเติบโตหรือการให้ผลผลิตช่วยปรับปรุงคุณภาพของอาหาร เช่น ยาปฎิชีวนะ ยากันรา ยากันหืน
“ เสริมให้คุณสมบัติดีขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตและบำรุงสัตว์ ”
ความแตกต่างของ Feed Supplement & Additive
• Supplement : เสริมให้มีคุณค่าทางอาหารเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตตามปกติ
• Additive : เสริมให้มีคุณสมบัติดีขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิต และบำรุงสุขภาพของสัตว์
แต่อย่างไรก็ตามยังมีการเสริมอาหารที่มีผลทางอ้อม
นั้นคือ Feed
additive ทางอ้อม โดยการเสริมเพื่ออีกสิ่งหนึ่ง แล้วไปมีผลต่อสัตว์ ตัวอย่างเทคโนโลยี Biofloc Technology ในสัตว์น้ำ
Biofloc Technology คือ การนำตะกอนจุลินทรีย์ (Biofloc)
มาช่วยในการกำจัดของเสียที่เหลือจากการบริโภคของสัตว์น้ำ
และจากการขับถ่าย ให้กลายเป็นของดีที่มีประโยชน์ต่อสัตว์น้ำ กล่าวคือ ตะกอนจุลินทรีย์
(Biofloc) เป็นตะกอนอินทรีย์แขวนลอยในมวลน้ำ
ยึดเกาะเป็นกลุ่มโดยพวกสาหร่ายแพลงก์ตอนพืช
โปรโตซัว และแบคทีเรีย โดยกลุ่มแบคทีเรียจะเป็นพวกเฮทเทอโรโทรฟิค แบคทีเรีย
(Heterotrophic Bacteria) ในกระบวนการ biological
nitrogen fixation สิ่งมีชีวิตเหล่านี้จะทําหน้าที่เปลี่ยนของเสียที่สัตว์น้ำขับถ่าย เช่น แอมโมเนีย และของเสียสารอินทรีย์อื่น ๆเป็น biomass ของสิ่งมีชีวิตและจุลินทรีย์ ซึ่งสัตว์น้ำสามารถใช้ เป็นอาหารได้ ดังรูปภาพ
กลไกการทำงานของ BioFloc
กลไกการทำงานของ BioFloc
ที่มา : https://link.springer.com/article/10.1007/s13201-016-0421-4 |
ซึ่งโดยปกติแล้วในธรรมชาติจะเกิดการบำบัดไนโตรเจนที่เป็นของเสียโดยกระบวนการ Nitrification และ Denitrification ดังนี้
กระบวนการไนตริฟิเคชั่น (Nitrification) อาศัยการทำงานของแบคทีเรียกลุ่มไนตริไฟอิง เช่น Nitrosomonas sp.จะเปลี่ยนแอมโมเนียเป็นไนไตรท์ และ Nitrobacter sp. จะเปลี่ยนจากไนไตรท์เป็นไนเตรท ซึ่งแบคทีเรียกลุ่มนี้จะใช้คาร์บอนจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นแหล่งพลังงานในการเปลี่ยนรูปแอมโมเนียซึ่งเป็นพิษรุนแรงต่อสัตว์น้ำให้เป็นไนเตรทที่มีความเป็นพิษต่ำกระบวนการไนตริฟิเคชั่นจะเกิดขึ้นในสภาวะที่มีก๊าซออกซิเจน กล่าวคือ ต้องการปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำมากกว่า 4 mg/l จึงถือได้ว่ามีความเหมาะสมต่อกระบวนการนี้
กระบวนการดีไนตริฟิเคชั่น (Denitrification) เป็นปฏิกิริยาที่เปลี่ยนไนเตรทให้อยู่ในรูปของก๊าซไนโตรเจน และจะเกิดขึ้นในสภาวะที่ปราศจากออกซิเจน กระบวนการนี้อาศัยการทำงานของแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทโรโทรฟิค (Heterotrophic bacteria) ซึ่งเป็นกลุ่มแบคทีเรียที่ไม่สามารถสร้างอาหารขึ้นเองได้ จึงจำเป็นต้องอาศัยสารอินทรีย์หรือซากสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ เพื่อเป็นวัตถุดิบในการเจริญเติบโตและเป็นแหล่งพลังงาน ตัวอย่างของแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทโรโทรฟิคนี้เช่น Bacillus denitricans และ Pseudomonas sp.
ซึ่งการนำ Biofloc Technoly มาปรับใช้จะสามารถช่วยบำบัดไนโตรเจนได้ดีกว่าแบบในธรรมชาติดังนี้
โดยปกติแล้วอาหารที่เหลือจากการใช้ประโยชน์แก่สัตว์น้ำก็มักจะตกตะกอนอยู่ที่ก้นบ่อ หรือไม่ก็อุดตันอยู่ตามตัวกรองต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นต้นเหตุสำคัญที่ก่อให้เกิดการสะสมของสารอนินทรีย์ไนโตรเจนภายในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำ ด้วยเหตุนี้แนวคิดเกี่ยวกับการใช้ไบโอฟลอคมาเป็นตัวช่วยบำบัดไนโตรเจนจึงได้เกิดขึ้น ภายใต้เงื่อนไขที่ว่า การที่จะให้ตัวไบโอฟลอคทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายในบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำของเราจะต้องมีการผสมและหมุนเวียนของน้ำภายในบ่อเป็นอย่างดี ยิ่งกว่านั้นจะต้องทำการเติมก๊าซออกซิเจนให้มาก พอ ๆ กับการควบคุมสัดส่วนของคาร์บอนกับไนโตรเจนให้เหมาะสม จึงจะทำให้จุลินทรีย์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่กล่าวมาข้างต้นนี้ถือเป็นปัจจัยที่ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของแบคทีเรียกลุ่มเฮทเทโรโทรฟิคให้มีปริมาณเพียงพอภายในบ่อเลี้ยง และรวมกลุ่มกันกลายเป็นกลุ่มไบโอฟลอคในที่สุด
ดังนั้น ถ้านำ Biofloc Technology มาใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำน่าจะส่งผลดีต่อคุณภาพน้ำและลดต้นทุนค่าอาหาร ส่งผลให้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำประสบความสำเร็จมากขึ้น เราจึงทำการรวบรวมเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมาแสดง
Biofloc Technology ต่อคุณภาพน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงปลานิล
Kenneth et al. (2018) |
การศึกษาของ Kenneth et al. (2018) พบว่าการใช้ Biofloc Technology สามารถลดค่าแอมโมเนียรวมในน้ำ (TAN) ได้ดี โดยใช้น้ำตาลเป็นแหล่งคาร์บอนในอาหารเพื่อผลิต Biofloc Technology นอกจากนี้ผลของการใช้ Biofloc Technology ต่อสรรถนะการเจริญเติบโตของปลานิลพบว่าการเสริมแหล่งคาร์บอนในอาหาร (Molasses : กากน้ำตาล) ในการทำ Biofloc ส่งผลให้ค่าน้ำหนักสุดท้าย,ค่าความยาลลำตัวสุดท้าย, และอัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ (SGR) มีค่าสูงขึ้น ค่าที่สูงขึ้นเป็นผลมาจากการทำงานของกลุ่ม Heterotrophic Bacteria การเสริมแหล่งคาร์บอนจะช่วยให้มีอัตราการแลกเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อต่ำ (FCR ต่ำ ประสิทธิภาพใช้อาหารดี) ในกลุ่มที่ใช้ Biofloc
ดังนั้นการใช้ Biofloc Technology ที่เสริมแหล่งคาร์บอนด้วยกากน้ำตาลอัตราส่วน C:N ที่เหมาะสมมีผลดีต่อคุณภาพน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงและสามารถช่วยลดต้นทุนในค่าอาหารปลาเนื่องจากการเจริญเติบโตที่สูงขึ้นจากนำกลับโปรตีนจากอาหารสัตว์น้ำได้ในเวลาเดียวกัน แต่ข้อเสียของการใช้ไบโอฟลอคกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนั้น มักจะพบว่าจะมีความขุ่นมากกว่าปกติ ซึ่งอาจจะส่งผลต่อสัตว์น้ำในระยะยาวได้ การแก้ไขก็คือ ให้มีการสูบตะกอนที่ก้นบ่อทิ้งสัปดาห์ละครั้งหรือบ่อยกว่านั้นก็จะเป็นผลดีต่อสัตว์น้ำในระยะยาว
ตัวอย่างการนำมาใช้ของเทคโนโลยีในประเทศไทย |